เมื่อวันที่ 10 มิ.ย.63 หลังจากที่ นายวิทูรัช ศรีนาม ผวจ.จันทบุรี ได้ลงนามเซ็นต์ในประกาศ จ.จันทบุรี เรื่อง ข้อปฏิบัติในการส่งเสริมความเสมอภาคและขจัดการเลือกปฏิบัติ โดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ
ตามพระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ.2558 ลงวันที่ 5 มิถุนายน 2563 เพื่อขจัดอุปสรรคการเลือกปฏิบัติ โดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ และเพื่อส่งเสริมให้บุคคลสามารถใช้สิทธิและเสรีภาพ เช่นเดียวกับบุคคลอื่น จึงออกประกาศให้ส่วนราชการ ได้ปฏิบัติด้านการส่งเสริมความเสมอภาคและขจัดการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ ในด้านใดด้านหนึ่ง ซึ่งมีเนื้อหาในประกาศโดยสรุปคือ
ตามข้อบังคับของหน่วยงาน
อัตลักษณ์ทางเพศสภาพหรือเพศภาวะของบุคคล
การศึกษา หรือความสามารถที่สอดคล้องกับลักษณะงาน ไม่ระบุเพศโดยกำเนิด หรือเพศสภาพ/
เพศภาวะ
เกี่ยวกับคำศัพท์ที่เหมาะสมในการใช้เรียกอัตลักษณ์ทางเพศสภาพหรือเพศภาวะของบุคคล
เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการตีตรา เสียดสี หรือลดทอนคุณค่าของบุคคลทุกเพศ รวมถึงเป็นการแสดง
ถึงอคติทางเพศที่ไม่เคารพในสิทธิและเสรีของบุคคล
เพศชาย เพศหญิง หรือผู้แสตงออกที่แตกต่างจากเพศโตยกำเนิดเข้าร่วมเป็นกรรมการในทุกระดับ
เพื่อพัฒนาสังคมไทยไปสู่สังคมเสมอภาคอย่างแท้จริง
และความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมการล่วงละมิดหรือคุกคามทางเพศ และจัดทำแนวทางปฏิบัติ
เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญญาการล่วงละเมิดในการทำงาน
ซึ่งประกาศฉบับนี้ ได้ถูกเผยแพร่ออกไปอย่างรวดเร็วเมื่อวานนี้( 9 มิ.ย.63) ซึ่งก็สร้างกระแสความฮือฮา จากคนทั่วประเทศ โดยเฉพาะผู้ที่ได้พยายามขับเคลื่อนความเท่าเทียมทางเพศ
ด้าน นายพัฒนคมน์ ภู่ประเสริฐ พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พมจ.)จันทบุรี ซึ่งเป็นหน่วยงานเจ้าภาพและอยู่เบื้องหลังการขับเคลื่อนประกาศฉบับนี้ เปิดเผยว่า แม้ว่าประกาศจังหวัด เรื่อง การส่งเสริมความเสมอภาคและขจัดการเลือกปฏิบัติ โดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ ฉบับนี้ จะยังไม่ถือเป็นกฎหมายบังคับ แต่เป็นเพียงข้อควรปฏิบัติ 6 ข้อ ในการขอความร่วมมือกับหน่วยงานราชการภายในจังหวัด โดยที่มีการเห็นชอบและลงนามอย่างเป็นทางการ จากท่านผู้ว่าฯ เพื่อขับเคลื่อนความเท่าเทียมทางเพศให้กับคนในจังหวัด ซึ่งหน่วยงานฯสามารถเลือกปฏิบัติได้อย่างน้อย 1 ข้อ และมีผลให้หน่วยงานฯ ปฏิบัติตามได้ทันที โดยที่ ผู้ว่าฯ ได้กำชับในข้อที่ 6 การป้องกันและแก้ไขปัญหาการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศในการทำงาน ที่ต้องยึดถือปฏิบัติตามเป็นพื้นฐานสำคัญ และในอนาคตหากเป็นไปได้ จะทำการขยายประกาศเพิ่มไปสู่ภาคเอกชนในจังหวัด เพื่อขับเคลื่อนความเท่าเทียมทางเพศให้ครอบคลุมกับจังหวัดนำร่อง ต่อไป
ขณะที่ นายจิตตพัฒน์ ตั้งสุขสบายดี หรือ น้องหยก อายุ 27 ปี นักพัฒนาสังคมปฏิบัติการ สำนักงาน พมจ.จันทบุรี ที่เพิ่งมาบรรจุรับราชการได้เพียง 2 เดือน กล่าวรู้สึกดีใจ หลังชีวิตได้มีโอกาสรับราชการ กระทรวงการ พม.และเดินทางมาปฏิบัติงานที่ จันทบุรี เป็นครั้งแรก ซึ่งที่ผ่านมาตนมองว่าเป็นเพศที่ 3 จึงมีความหนักใจอยู่ในหลายเรื่องก่อนเดินทางมาทำงาน แต่พอเห็นประกาศฉบับนี้ครั้งแรก ตนรู้สึกดีใจ ซึ่งเนื้อหาที่ช่วยเอื้อกับกลุ่มเพศที่ 3 ในหลายด้านโดยเฉพาะในการทำงาน แต่ตัวเราต้องเข้าใจบริบทของงาน และอยู่ภายใต้ความสุภาพ และมารยาทในสังคมชุมชนเช่นกัน ซึ่งก็ถือเป็นการเริ่มต้นที่ดี ในการขับเคลื่อนความเท่าเทียมทางเพศที่ 3.
ข่าว/ภาพ : ศุภชัย จุลละนันทน์